อ่านข่าวนี้กดที่นี่

วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2566 เวลา 09.15 น. ผู้วยศาสตราจารย์ สุวิทย์ ปัญญาวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ มหาวิทยาลัยพะเยา
เป็นประธานเปิดกิจกรรมแข่งขันตอบปัญหาทางกฎหมายระดับมัธยมศึกษา เนื่องในวันรพี ประจำปี 2566 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชรมหาวัชรราชธิดา ณ ห้อง UB003 อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมมปญโญ) มหาวิทยาลัยพะเยาโดยมีโรงเรียนเข้าร่วมการแข่งขันตอบปัญหาทางกฏหมาย 30 ข้อ จำนวน 221 ทีม 188 โรงเรียน ทั่วประเทศ เพื่อน้อมรำลึกและเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพด้านกฎหมาย ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา
นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษา เด็ก เยาวชน ครูและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายอย่างถูกต้อง และกระตุ้นให้เกิดความสนใจ ตระหนักในความสำคัญของกฎหมายให้มากขึ้น และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้บริหาร คณาจารย์ ครู นิสิต นักเรียน และบุคลากร
ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และโรงเรียนมัธยมศึกษาตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ในการสร้างเด็กและเยาวชน ให้มีการเคารพกฎหมายอย่างถูกต้อง อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป เพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยพะเยา และคณะนิติศาสตร์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ในบทบาทของสถาบันการศึกษาซึ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมและเป็นที่พึ่งของสังคม

พระองค์เจ้ารพี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า”พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์” เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันพุธ ขึ้น 11 ค่ำเดือน11 ปีจอ จุลศักราช 1236 ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 พระองค์ทรงเป็นราชสกุล “รพีพัฒน์”พระองค์ท่านทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมาย ที่ประเทศอังกฤษ เพื่อจะได้กลับมาพัฒนากฎหมาย บ้านเมืองกับพัฒนาผู้พิพากษาและราชการศาลยุติธรรมให้ดีขึ้น และเพื่อให้ต่างชาติยอมรับนับถือกฎหมายไทย และยอมอยู่ภายใต้อำนาจศาลไทย พระองค์ท่นทรงมีพระสติปัญญาฉลาดเฉลียวเป็นอย่างยิ่ง ในตันปี
พ.ศ. 2434 พระองค์ทรงสามารถสอบผ่านเข้าศึกษาวิซากฎหมายที่วิทยาลัยไครสต์เชิร์ช มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Christchurch College Oxford University) ขณะที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุเพียง 17 พรรษาเท่านั้น พระองค์เปรียบเสมือนเป็นพระบิดาและปฐมาจารย์แห่งนักกฎหมายไทย กล่าวคือ พระองค์เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการวางรากฐานของระบบกฎหมายไทย โดยมีบทบาทสำคัญต่อวงการกฎหมายไทย 3 ประการได้แก่ การจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายและจัดการเรียนการสอนวิชากฎหมายอย่างเป็นระบบ ตามแบบของตะวันตก งานด้านการแก้ไข ปรับปรุงและร่างกฎหมายใหม่เพื่อให้กฎหมายมีความสอดคล้องกับสภาพสังคมที่ต้องติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น และการปรับปรุงกิจการงานของศาลยุติธรรมที่เคยกระจัดกระจายไปอยู่ภายใต้อำนาจของหน่วยงานต่างๆ ให้มาอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นการระลึกถึงพระเดชพระคุณ และผลงานของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิชากฎหมาย เนติบัณฑิตยสภาจึงได้ถวายการยกย่องท่านว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” เมื่อปี พ.ศ. 2497 และเรียกวันที่ 7 สิงหาคม ของทุกปีนี้ว่า “วันรพี” เพื่อน้อมรำลึกถึงวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ บรรดาหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายจึงได้สืบทอดประเพณี “วันรพี” โดยมีการจัดพิธีวางพวงมาลาและร่วมบำเพ็ญพระกุศล ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 จนถึงปัจจุบัน…