วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกภูมิภาคท้องถิ่นข่าวสารสถานการณ์อุทกภัยอุบลฯ 21 ตุลาคม 2565 สำหรับสื่อมวลชน อปมช. และหอกระจายข่าว

ข่าวสารสถานการณ์อุทกภัยอุบลฯ 21 ตุลาคม 2565 สำหรับสื่อมวลชน อปมช. และหอกระจายข่าว

-

อ่านข่าวนี้กดที่นี่

– อุณหภูมิสูงสุด 1-2 องศา มีฝนเล็กน้อยบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้ในระดับบนพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง

– น้ำมูล วันนี้ลดลง 11 เซนติเมตร ที่สถานีวัดน้ำ M 7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อำเภอเมืองอุบลราชธานี วันนี้ (21 ตุลาคม 2565) เวลา 06.00น.) ระดับน้ำ+ 116.11 เมตร รทก. สูงกว่าตลิ่งฝั่งอำเภอวารินชำราบ 4.11 เมตร ระดับน้ำลดลงจากเมื่อวานนี้ 11 เซนติเมตร ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าน้ำจะลดระดับลงมาอยู่ในระดับปกติ ช่วงวันที 15 พ.ย. 2565

– ศูนย์บริการจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กอนช.ส่วนหน้า) รายงานระดับน้ําแม่น้ําชีและลําน้ําสาขา ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ยโสธร ระดับน้ําลดลงแต่ยังคงสูงกว่า ระดับตลิ่ง และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนแม่น้ํามูลและลําน้ําสาขา ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี ระดับน้ําลดลง แต่ยังคงสูงกว่าระดับตลิ่ง และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนบริเวณ อ.โนนสูง อ.จักราช และ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ ระดับน้ําลดลงจนต่ำกว่าระดับตลิ่งแล้ว

– การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแหล่งน้ํา จํานวน 63,540 แห่ง ปัจจุบันมีปริมาณน้ํา 12,146 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 93 ประกอบด้วย แหล่งน้ําขนาดใหญ่เกินเกณฑ์เก็บกักสูงสุด (URC) จํานวน 8 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ําอุบลรัตน์ ลําตะคอง มูลบน ลําพระเพลิง ห้วยหลวง ลํานางรอง ลําแชะ และหนองหาร และแหล่งน้ําขนาดกลาง ปริมาณน้ํามากกว่า 80% จํานวน 151 แห่ง

– สถานการณ์น้ําท่วม มีน้ําท่วมขังในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ หนองบัวลําภู ยโสธร ร้อยเอ็ด ขอนแก่น สุรินทร์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม นครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

– การบริหารจัดการน้ํา กรมชลประทาน โดยสํานักงานชลประทานที่ 6 ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ํา จํานวน 30 เครื่อง บริเวณท้ายเขื่อน ร้อยเอ็ด และบริเวณใต้สะพานค้อเหนือนางาม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด จํานวน 10 เครื่อง และติดตั้งเครื่องสูบน้ํา บริเวณท้าย ปตร.ห้วยดางเดียวอ.ทุ่งเขาหลวง จํานวน5เครื่อง ต.เทอดไทยอ.ทุ่งเขาหลวงจํานวน2เครื่อง และต.เมืองบัวอ.เกษตรวิสัย จํานวน 6 เครื่อง และยกบานระบายน้ําที่เขื่อนชนบท เขื่อนมหาสารคามขึ้นทุกบาน และยกการระบายน้ําเพิ่มการระบายน้ํา ที่บึงกุดเค้าให้ลงลําน้ําชี เพื่อแก้ไขปัญหาการระบายน้ําให้เร็วขึ้น

– สํานักงานชลประทานที่ 7 ติดตั้งเครื่องสูบน้ําบริเวณบุ่ง น้อย-บุ่งใหญ่ เขตเทศบาลเมืองยโสธร จ.ยโสธร จํานวน 2 เครื่อง และสํานักงานชลประทานที่ 8 ติดตั้งเครื่องสูบน้ําในพื้นที่ อ.ราษีไศล รวม 7 เครื่อง ยกแขวนบานระบายน้ําของเขื่อนราษีไศลทั้ง 7 บาน ระบายผ่านฝายสันกว้าง อีก 3 แห่ง

– การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปรับแผนการระบายน้ําเขื่อนอุบลรัตน์ (21ตุลาคม 2565) จะปลับลดการระบายน้ําเป็นวันละ 40 ล้าน ลบ.ม. หลังจากนั้นจะคงการระบายน้ํา คงที่วันละ 40 ล้าน ลบ.ม. จนกว่าสถานการณ์น้ําจะมีการเปลี่ยนแปลง

– หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการตรวจสอบพนังกั้นน้ํา และเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อแก้ไขปัญหา พนังกั้นน้ําและตลิ่งทรุดตัว เมื่อปริมาณน้ําลดลงอย่างรวดเร็ว

– สํานักงานชลประทานที่ 6 ดําเนินการเก็บกักน้ําในอ่างเก็บน้ําขนาดกลางจํานวน 69 แห่ง เพื่อสํารองไว้ใช้ในฤดูแล้ง

– การช่วยเหลือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ํา และหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 145 ศูนย์ และช่วยเหลือด้านเครื่องจักรเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ํา 144 เครื่อง เครื่อง Hydroflow 8 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ํา 150 เครื่อง จัดทําจุลินทรีย์บําบัดน้ําเสีย

– มณฑลทหารบกที่ 22 พร้อมหน่วยงานในสังกัด จัดรถบริการรับ-ส่งประชาชน จาก อ.เมืองอุบลราชธานี ไป อ.วารินชําราบ ตั้งแต่ 06.00 – 20.30 น. จัดชุดหน่วยลาดตระเวนทางน้ํา ปฏิบัติการตลอด 24 ชม. จัดชุดอํานวย ความสะดวกแก่ผู้ประสบภัยในศูนย์พักพิงชั่วคราว จัดชุดทหารเสนารักษ์เพื่อรักษาพยาบาลให้กับผู้ประสบภัย จัดโรงครัวพระราชทานประกอบอาหารให้ผู้ประสบภัยในศูนย์พักพิงชั่วคราว จัดกําลังพลกําจัดผักตบชวา

– หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 56 สนับสนุนกําลังพล 24 นาย รถบรรทุก 2 คัน รถประปาสนาม 1 คัน รถสุขา เคลื่อนที่ 1 คัน เรือ 3 ลํา เพื่อช่วยรับ-ส่งประชาชน ในพื้นที่เทศบาลเมืองวารินชําราบ จ.อุบลราชธานี

– แขวงทางหลวงจังหวัดที่ประสบอุทกภัย ดําเนินการจัดทําแผนที่เส้นทางเลี่ยงพื้นที่น้ําท่วมให้แก่ประชาชนผ้ใช้รถใช้ถนน และติดป้ายแนะนําเส้นทาง

– สํานักงานชลประทานที่ 6 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการซ่อมแซมพนังกั้นแม่น้ําชีที่ขาด บริเวณ บ.สะดําศรี ต.ลําชี อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ และให้การช่วยเหลือสนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัย ทําคันป้องกันน้ําท่วม และมอบถุงยังชีพ น้ําดื่ม จํานวน 600 ขวด พร้อมจัดตั้งศูนย์พักพิงจํานวน 3 จุด

– หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการเตรียมความพร้อมช่วยเหลือและฟื้นฟูหลังน้ําลด ดังนี้

– สํานักงานชลประทานที่ 7 จัดชุดหน่วยช่วยเหลือและฟื้นฟูหลังน้ําลด 9 ชุด ชุดละ 15 คน จัดเตรียมรถบรรทุก 17 คัน เครื่องสูบน้ํา 68 เครื่อง

– สํานักงานทรัพยากรน้ําภาค 11 จัดเตรียมเรือท้องแบน 3 ลํา เครื่องสูบน้ํา ขนาด 30 นิ้ว 1 เครื่อง ขนาด 12 นิ้ว 4 เครื่อง ขนาด 8 นิ้ว 1 เครื่อง รถบรรทุกน้ํา 2 คัน บุคลากร 2 ชุด จํานวน 17 คน

– มณฑลทหารบกที่ 22 จัดชุดหน่วยช่วยเหลือและฟื้นฟูหลังน้ําลด และจัดทําจุลินทรีย์บําบัดน้ําเสีย

– หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 56 จัดชุดหน่วยช่วยเหลือและฟื้นฟูหลังน้ําลด 1 ชุด จํานวน 15 คน

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดอุบลฯ คลี่คลายแล้ว 9 อำเภอ

– จังหวัดอุบลราชธานีได้รับผลกระทบจากภาวะอุทกภัยในพื้นที่รวม 21 อำเภอยกเว้นอำเภอเขมราฐ ศรีเมืองใหม่ นาตาล และอำเภอโพธิ์ไทร จำนวน 154 ตำบล 1,332 หมู่บ้าน ประชาชนผู้ประสบภัย 58,160 ครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 10 อำเภอ ทั้งนี้มีพื้นที่ 13 อำเภอ ที่ยังประสบปัญหาด้านการดำรงชีพ รวม 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบพิบูลมังสาหาร สว่างวีระวงศ์ ดอนมดแดง ตระการพืชผล เดชอุดม สำโรง เขื่องในตาลสุม ทุ่งศรีอุดม นาเยีย และอำเภอสิรินธร ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งศูนย์ประชาชนขึ้นใน 9 อำเภอ 35 ตำบล 224 หมู่บ้าน จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 107 แห่ง จำนวน 4,896 ครัวเรือน 17,199 คน

– การให้ความช่วยเหลือประชาชน ทางจังหวัดอุบลราชธานี ระดมความช่วยเหลือจากส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือนสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน มูลนิธิการกุศล พร้อมจิตอาสา ได้ให้การช่วยเหลือประชาชนนำกำลังพล ขนย้ายสิ่งของ โดยตั้งเต็นท์พระราชทานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์จำนวน 21 เต็นท์ที่พักอาศัยชั่วคราว 832 หลัง รถสุขาเคลื่อนที่ 2 คันตู้สุขาเคลื่อนที่ 120 ตู้ สุขากระดาษ 920 ชิ้น ถังน้ำอุปโภคบริโภค 50 ถัง ถุงยังชีพ 35,201 ชุด ชุดยารักษาโรค 8,575 ชุด น้ำดื่ม 28,229 แพค ข้าวกล่องอาหารปรุงสุก 126,069 กล่อง เรือ 87 ลำและจัดตั้งหน่วยปฐมพยาบาลและจุดคัดกรอง ณ ศูนย์พักพิงชั่วคราว พร้อมทั้งนำทรายบรรจุกระสอบแจกจ่ายประชาชน 70,000 ใบ จัดตั้งโรงครัวพระราชทาน 3 แห่ง

– ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 22 ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 21 หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 56 และสถานีกาชาด จัดรถรับส่งบริการประชาชน จำนวน 15 คัน

– ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 13 จัดรถรับส่งบริการประชาชน จำนวน 4 คัน และแขวงทางหลวงชนบทอุบลราชธานีจัดรถบริการรับส่งประชาชน

ห้ามรถทุกชนิดผ่านถนนแจ้งสนิท(ขาออก)

– ยังมีรถหลงเข้ามาอยู่ ย้ำนะคะ ห้ามรถทุกชนิดผ่านถนนแจ้งสนิทขาออกปิดนะคะ ขณะนี้ (20 ต.ค.65) กำลังสูบน้ำออกค่ะ แต่ยังผ่านไม่ได้ เนื่องจากถนนเป็นหลุมต้องซ่อมก่อน

จ.อุบลฯ แจ้งเตือน ถ.แจ้งสนิท ขาออก (ช่วง รพ.เด็ก สรรพสิทธิฯ ไป แยกแจระแม) ช่วงที่น้ำท่วม มีถนนชำรุด โดยน้ำท่วมได้ดึงดินออกไปเป็นโพรง 2 เมตร หากน้ำลดจะยังไม่เปิดใช้งาน

ย้ำ ห้ามรถผ่าน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

โดยหลังน้ำลด คาดว่าจะใช้เวลาซ่อม 3-4 วัน ถึงจะเปิดใช้งานได้ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=487103543446743&id=100064413053213

คชสีห์นิวส์17
คชสีห์นิวส์17http://www.kochasrinews.com
บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ

ข่าวยอดนิยมในสัปดาห์