วันศุกร์, มีนาคม 24, 2023
หน้าแรกเศรษฐกิจ"ประธานสภาฯ ดร.ศุภชัย" เดินหน้าลุยกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ในโครงการการค้าชายแดนเฟสที่ 3

“ประธานสภาฯ ดร.ศุภชัย” เดินหน้าลุยกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ในโครงการการค้าชายแดนเฟสที่ 3

ฟังบทความข่าว

หลังจากที่ ดร.ศุภชัย แก้วศิริ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการการเงินการคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎร เเละประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางเเละขนาดย่อมไทย กล่าวรายงานผลความสำเร็จที่เกิดขึ้นในโครงการ “สุรินทร์โมเดล เฟส1 และ 2 ” ต่อท่าน พิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ณ ห้องประชุมข้าวสารหอม ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ ว่าด้วยการผลักดันของสภาเอสเอ็มอี ที่เดินหน้าช่วยเหลือผู้ประกอบการต่อไป โดยครั้งนี้จะมุ่งไปที่กลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 หรือเรียกว่ากลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ โดยดร.ศุภชัย แก้วศิริ ได้ประสานงานกับคุณธฤษณุ ขจรโกวิท ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางเเละขนาดย่อมไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการจัดยุทธศาสตร์เพื่อการช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือกับปริมาณความต้องการสินค้าของประเทศไทยจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเน้นย้ำหัวข้อหลักๆ 9 หัวข้อ ได้เเก่

  1. ด้านการสนับสนุนทางการเงิน: เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการค้าชายแดนเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยการทำงานร่วมกับธนาคารภาครัฐทั้งหลาย ทั้งในเรื่องผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสม พัฒนาสินเชื่อและบริการทางการเงินที่มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับผู้ประกอบการการค้าชายแดนและผู้ที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำและเงื่อนไขผ่อนปรน รวมถึงการให้ความรู้ และคำปรึกษาด้านการเงิน การเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
  2. ด้านนวัตกรรม: นำองค์ความรู้จากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อนำงานวิจัยต่าง ๆ เข้าสู่ผู้ประกอบการ โดยเน้นสินค้าที่มีศักยภาพในพื้นที่ เช่น ข้าวหอมมะลิ ผ้าไหม เป็นต้น โดยการพัฒนาสินค้าให้มีรูปแบบมีเอกลักษณ์ และให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
  3. ด้านการตลาด: ส่งเสริมด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ สนับสนุนการสร้างโอกาสในการเชื่อมต่อทางการค้ากับผู้ค้าทั้งในประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนาม การพัฒนาการผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภคเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในตลาด
  4. ด้านการศึกษา: ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม เพื่อให้มีความเข้าใจในวัฒนธรรมระหว่างประชาชน แต่ละท้องที่ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน และทำให้เกิดความเข้าใจ จนสามารถพัฒนาสินค้าและบริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศเพื่อนบ้าน
  5. ด้านการพัฒนาพื้นที่เพื่อให้สามารถรองรับการค้าชายแดน: เตรียมการด้านระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ระบบคมนาคม และด้านงบประมาณ
  6. ด้านการพัฒนาและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว: ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวนครวัด นครธมกับแหล่งท่องเที่ยวในประเทศ และสนับสนุนการท่องเที่ยวแหล่งอารยธรรม เส้นทางวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism)
  7. ด้านแรงงาน: สนับสนุนให้เปิดศูนย์แรกรับแรงงานเพื่อให้แรงงานเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย แก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน ลดปัญหาในห่วงโซ่อุปทาน
  8. ด้านความรู้และการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน: จัดให้มีกิจการพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และหน่วยงานภาคเอกชน สนับสนุน ให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ตลอดจนสนับสนุน ด้านความรู้ต่างๆ รวมถึงความรู้ด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดน การส่งออกให้แก่ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และประชาชนในพื้นที่ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่
  9. การสนับสนุนด้านอื่นที่สำคัญ: เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และรวมไปถึงพื้นที่ต่อเนื่องใกล้เคียงรวมถึงการหาแนวทางพิธีการศุลกากร เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ผู้ค้าชายแดน

ทั้ง 9 แผนยุทธศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ดร.ศุภชัย แก้วศิริ ได้เเนวทางจากยุทธศาสตร์ 3 ประการสำนักบริหารยุทธศาสตร์ เเละพิจารณาต่อยอดเพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐเเละผู้ประกอบการในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ โดยได้เสนอแนวคิดขับเคลื่อนกิจกรรมการค้าชายแดนภายใต้กรอบการพัฒนาเเละดำเนินการตามนโนบายแห่งชาติ ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความยั่งยืน (BCG Model & SDGs)

ทั้งยังส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าในกลุ่มสินค้าเกษตรและปศุสัตว์และขยายความร่วมมือไปยังหน่วยงานสำนักเกษตรและกรมร่วมมือระหว่างประเทศการพัฒนาการเชื่อมต่อโครงข่ายด้าน Logistics การเข้าถึงแหล่งทุน แนวทางการบริหารจัดการผ่อนปรนลูกหนี้กรณีรหัส “21” รวมทั้งก่อตั้งศูนย์ราชการเพื่อให้บริการแบบ One Stop Service สำหรับผู้ประกอบการตะเข็บชายแดนและผู้ส่งออกรายย่อย

ตามที่นโยบายความร่วมมือของคณะกรรมาธิการการเงินการคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน ผู้ประกอบการต่างๆ และสภาวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมไทย ร่วมมือจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและความร่วมมือในเขตชายแดนช่องจอม ของจังหวัดสุรินทร์ เพื่อให้เป็นรูปแบบ (Model) สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการได้เข้าถึงตลาดการค้า นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้ รวมถึงส่งเสริมให้เข้าหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม ครอบคลุมธุรกิจในด้านต่างๆ ตาม 9 แผนยุทธศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้น  โดยมีการดำเนินงานสุรินทร์โมเดลระยะที่ 1 ในปี 2563 และสุรินทร์โมเดลระยะที่ 2 ในเตือน กันยายน 2565 โดยในระยะถัดไป จะเน้นย้ำการบริหารเเละการบูรณาการกับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)

โดยนายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้เสนอยุทธศาสตร์เเละนโยบายที่สนับสนุนผ่านช่องทางออนไลน์ Surin Best ที่อยู่ในช่วงกำลังพัฒนาระบบให้มีการบอกเล่าเรื่องราวของสินค้า

ในการนี้ นายสมบัติ ศรีสุรินทร์ คณะกรรมาธิการการเงินการคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดกิจกรรมสัมนาให้แก่ผู้ที่สนใจในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ณ บริเวณตลาดอาเซียน ช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ในเรื่องการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ด้วยเทคโนโลยี เเละในวันที่ 5 จะเป็นการสัมนาในหัวข้อ การสร้างเศรษฐกิจเข้มเเข็งด้วยการใช้เทคโนโลยีระดับอุตสาหกรรมแบบครบวงจร

ติดตามข่าวสารสภาวิสาหกิจขนาดกลางเเละขนาดย่อมไทยได้ที่ Website และ Facebook เเละ Youtube

สำนักข่าวคชสีห์นิวส์

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์

ติดตามข่าวสารผ่าน Line สำนักข่าวคชสีห์นิวส์

ข่าวยอดนิยมในสัปดาห์