วันศุกร์, เมษายน 19, 2024
หน้าแรกการเมือง"ธนภร"หวดรัฐออกกม.ปิดปากประชาชนขัดรัฐธรรมนูญ

“ธนภร”หวดรัฐออกกม.ปิดปากประชาชนขัดรัฐธรรมนูญ

-

อ่านข่าวนี้กดที่นี่

ส.ส.เสรีรวมไทยอัดรัฐบาลใช้กฎหมายปิดปากสื่อสกัดการรับรู้ข่าวสารของประชาชนถามกลับนี่ระบอบประชาธิปไตยหรือเผด็จการกันแน่ชี้ขัดรัฐธรรมนูญชัดเจน อัดยับแก้โควิดล้มเหลว

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม น.ส.ธนภร โสมทองแดง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย เปิดเผยว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 วิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินโควิด-19 ระบาดอย่างรุนแรง แม้รัฐสามารถจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ แต่ก็ไม่สามารถระงับการใช้สิทธิเสรีภาพได้อย่างสิ้นเชิง การจำกัดสิทธิต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง ภายใต้หลักความได้สัดส่วนพอสมควรแก่เหตุ กรณีที่มีสภาพบังคับเป็นโทษทางอาญา และเห็นว่าข้อกำหนดดังกล่าวมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างแจ้งชัด

ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า การห้ามเสนอข่าว จำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มี ‘ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว’ ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 34 มาตรา 35 และ มาตรา 29 ประกอบมาตรา 26 เนื่องจากความดังกล่าวมีลักษณะ คลุมเครือ ไม่ชัดเจน วิญญูชนหรือบุคคลทั่วไปไม่อาจคาดหมายได้ว่า ข้อความใด อาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว’ ในช่วงวิกฤตนี้ ความหวาดกลัวย่อมเป็นปฏิกิริยาปกติของประชาชนทั่วไปต่อข่าวสารในทางลบ การเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความจริง เพื่อให้ภาครัฐหรืออาสาสมัครเข้าช่วยเหลือผู้ป่วย หรือเพื่อเตือนบุคคลอื่นให้หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรค และการรายงานข่าวตามความเป็นจริงเพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง หากเป็นข่าวสารในแง่ลบ ก็อาจถูกตีความได้ว่าเป็น ‘ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว’ และเป็นความผิดตามกฎหมายได้

น.ส.ธนภร กล่วว่า สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน มีผู้ติดเชื้อจากโรคระบาดไวรัสโคโรนาหรือโควิด 19 จำนวนมาก แต่ขณะเดียวกัน ในมุมมองการเมือง สถานการณ์ในปัจจุบันมีประชาชนติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 จำนวนมากเกือบ 20,000 คนต่อวัน และประชาชนเสียชีวิตวันละ 100 กว่าราย การบริหารจัดการของฝ่ายรัฐไร้ประสิทธิภาพ ล้มเหลว ถามว่า มาตรการเชิงรุกในการเยียวยาชีวิตมนุษย์ไม่สามารถประเมินราคาได้ แทนที่ประชาชนจะได้เข้าถึงการบริการสาธารสุขของรัฐ ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย สิ่งที่ประชาชนควรจะได้รับ คือ วัคซีนที่มีคุณภาพ และมีสิทธิ์เลือกยี้ห้อได้ แต่กลับได้รับการฉีดน้ำยาอาบศพ “ฟอมาลีน”แทน ตรงนี้ ที่ประชาชนจึงออกมาเรียนร้องให้เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี ให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีลาออก ทำให้เกิดผู้ชุมนุมเรียกร้องให้ลาออก

นอกจากนั้น สิ่งที่เห็นประจักษ์ คือ ประชาชนนอนตายบนพื้นถนนสาธารณะ ทำให้ประชาชนถ่ายภาพและแชร์ลงในโซเชียลเพื่อสะท้อนถึงปัญหาและการช่วยเหลือจากรัฐ แต่สิ่งที่ได้ รัฐกลับออกข้อกำหนดปิดปากประชาชน ปิดปากสื่อมวลชน สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ประชาชนย่อมต้องรับรู้ ทั้งข้อกำหนดฉบับที่ 29 ข้อ 1 คลุมเครือและไม่ชัดเจนว่า ข้อความใด อาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน นอกจากนี้ กระแสกรณึดารา Call out เป็นการพูดแทนประชาชน สะท้อนภาพความเป็นจริงในสังคม เปรียบดัง กระจกเงา ฝ่ายรัฐควรปรับปรุง แก้ไข แต่กลับไปแจ้งความดำเนินคดีแทน จึงมีความสงสัยที่เป็นคำถามว่า ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบเผด็จการกันแน่ เพราะประชาชนเจ้าของประเทศไม่สามารถมีเสรีภาพทางการพูด การแสดงความคิดเห็น การติชมด้วยความสุจริต ซึ่งข้อกำหนดฉบับที่ 29 จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ

น.ส.ธนภร กล่าวว่า ตนเองเป็นห่วงใยพี่น้องประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่าย เราจะเดินหน้าประเทศไทยไปด้วยกัน ผ่านวิกฤตโรคระบาดโควิด -19 ไปให้ได้ ดังจะเห็นจากการฝ่าฝืนข้อกำหนดดังกล่าว เป็นความผิดตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินสองปี จึงเป็นกรณีการกำหนดความผิดและโทษทางอาญา โดยบทบัญญัติที่ คลุมเครือ และ มีความหมายไม่เฉพาะเจาะจง ถึงขนาดที่วิญญูชนไม่อาจรู้และเข้าใจได้ว่า ข้อความใดสามารถเผยแพร่ได้ ข้อความใดไม่อาจเผยแพร่ได้ ขัดต่อหลัก ‘ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ’ (No Crime, No Punishment without Law) แม้คำว่า ‘หวาดกลัว’ เคยปรากฏในกฎหมายไทย แต่กฎหมายดังกล่าวก็บัญญัติองค์ประกอบความผิดข้ออื่นไว้อย่างชัดเจน และมีบทยกเว้นความผิดด้วย ดังนั้น การลงโทษทางอาญานั้นดูที่เจตนาเป็นหลัก ผู้กระทำความผิดต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล ให้การส่งข้อความของตน ส่งผลเสียหายต่อบุคคลหรือสังคมส่วนรวม การกำหนดโทษที่ตัวข้อความ โดยมิได้พิเคราะห์ถึงเจตนาของผู้ส่งสาร ย่อมขัดต่อหลักดังกล่าว และเป็นการกำหนดความผิดอาญาที่เกินความจำเป็น ประเทศไทยการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศจะต้องอยู่บนพื้นฐานหลักนิติรัฐและนิติธรรม ไม่ใช่เกาหลีเหนือ จะปิดปากประชาชน

สำหรับ กรณี นายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ระบึว่า ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 27 และข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 29 ไม่ได้เป็นการจำกัดการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน แต่ต้องนำมาแก้ไขปัญหาข่าวปลอม หรือ Fake News ที่กำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายในสังคมเป็นอย่างมาก มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จนั้น ตนเองในฐานะส.ส. ตัวแทนปวงชนชาวไทยได้ติดตามสถานการณ์บ้านเมือง ในยุคข่าวสารระบบออนไลน์รวดเร็ว เหมือนไฟลามทุ่ง ทำให้ประชาชนหูตาสว่าง รับรู้ข่าวสารได้อย่างถูกต้อง ในส่วนข่าวปลอมเป็นสัดส่วนน้อยมาก แต่ข้อกำหนดฉบับที่ 27 และฉบับที่ 29 “ปิดปากประชาชน ปิดปากสื่อมวลชน” ฝ่ายรัฐควรเอาเวลาไปแก้ไขปัญหาวัคซีนที่ขาดแคลน สร้างโรงพยาบาลสนาม ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน “หมอพร้อม แต่วัคซีนไม่พร้อม” ประชาชนติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก จะแก้ปัญหาอย่างไร และรัฐจะใช้มาตรการเชิงรุกควบคุมได้อย่างไร เยียวยาอย่างไร ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ 85% ของประเทศยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19

ที่มา : https://www.posttoday.com

คชสีห์นิวส์ 5
คชสีห์นิวส์ 5https://www.kochasrinews.com
รองผู้อำนวยการสำนักข่าวคชสีห์

ข่าวยอดนิยมในสัปดาห์