RECAP : เปิดผลกระทบ “ผังเมือง EEC” : ทำลายระบบนิเวศ และวิถีชีวิตของประชาชน.การเดินหน้าโครงการ EEC ที่ทิ้งประชาชนไว้ข้างหลังการพัฒนา ภายใต้นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC (Eastern Economic Corridor) ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมือง เพื่อดึงดูดนักลงทุนในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ระยอง และชลบุรี.ภายใต้การกำกับของกฎหมายเฉพาะ คือ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561 ซึ่งได้กำหนดให้ต้องมีการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือเรียกกันสั้นๆว่า “แผนผังฯ EEC” โดยปลี่ยนแปลงประเภทที่ดินให้กลายเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม.เมื่อผังเมือง EEC เปลี่ยนพื้นที่เกษตรให้กลายเป็นอุตสาหกรรม ขยายพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมให้กว้างขึ้น ขาดความสอดคล้องกับระบบนิเวศ ศักยภาพสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต และภูมิปัญญาอันหลากหลายของชุมชนและสังคม เปิดช่องให้สามารถตั้งโรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้ เช่น แหล่งกำจัดขยะ การส่งเสริมให้เกิดการอุตสาหกรรม โดยขาดการมีส่วนร่วม ส่งผลให้มีการนำน้ำไปใช้ในการพัฒนา EEC จำนวนมหาศาล .ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการใน EEC ประเด็นใหญ่ภาคตะวันออก ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เมื่อผังเมืองเอื้ออุตสาหกรรม ละเลยมาตรการคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อม ประชาชนในพื้นที่จึงตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะได้รับมลพิษอยู่ทุกเมื่อ
EnLAW ชวนย้อนทำความรู้จัก “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” หรือ “EEC” อันเป็นที่มาของ “ผังเมือง EEC” ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ระบบนิเวศน์ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ จากการเปลี่ยนแปลงผังเมืองจากพื้นที่เกษตรกรรมสู่พื้นที่อุตสาหกรรม.
-